Sparkly Santa Hat Ice Cream
Welcome to my blog

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Phrasal verbs หรือ Two words verb

Phrasal verbs or Two-word verbs

     คือ การใช้คำกริยาที่ปกติแล้วมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่ส่วนประกอบ เมื่อ verb+ preposition or particle มารวมกันเป็น Phrasal verbs แล้ว อาจจะทำให้เกิดความหมายใหม่ขึ้นมาซึ่งอาจจะไม่มีเค้าความหมายของคำกริยาเดิม เลย นิยมใช้กันมากในภาษาอังกฤษ
 



หลักสำคัญในการใช้ Phrasal Verbs หรือ Two-Word Verbs
 
1.เมื่อไม่มี direct object ต้องวาง adverb ไว้ติดกับ verb เช่น
   - please come in.
   - Don't give up, whatever happens.

2. เมื่อมี object pronoun เช่น him, her, it, them, me, us, เป็น direct object ต้องวาง object เหล่านี้ไว้หน้า adverb เช่น
   - I can't make it out. (right)
   - I can't make out it.(wrong)

3. เมื่อมี noun เช่น book , pen , houses , etc.เป็น direct object จะวาง noun ไว้หน้าหรือหลัง adverb ก็ได้        (verb +adverb +noun) หรือ (verb +noun +adverb) เช่น
   - Turn on the light.  หรือ  - Turn the light on.

4. ตามข้อ 3 ถ้า object เป็นคำยาว เช่นมี object clause ขยายต้องวางobject ไว้หลัง adverb เช่น
   - He gave away every book that he possesed. (right)
   - He gave every book that he possesed away. (wrong)


5. ในประโยคอุทาน (exclamatory Sentences)ให้วาง adverb ไว้หน้าประโยคยืดหลักดังนี้
   5.1 ถ้าประธานเป็น noun เอากริยาตามมาได้เลย เช่น
      -Off went john! = John went off.
   5.2 ถ้าประธานเป็น pronoun ใหัใช้แต่ adverb ไม่ต้องใช้ verb เช่น
      -Away they went ! = They went away.

ประเภทของ Phrasal verbs
1. Inseparable Verbs with no objects  คือ phrasal verb ที่ต้องติดกัน ไม่สามารถแยกจากกันได้ ไม่ต้องมีกรรม เช่น
   set off ออกเดินทาง         Speed up เร่งความเร็ว
   Wake up ตื่นนอน            Stand up ยืนขึ้น
   Come in เข้ามาถึง           Get on ขึ้น (รถ) / เข้ากันได้
   Carry on ทำต่อไป           Find out เรียนรู้
   Grow up เติบโต             Turn up ปรากฏตัว


2. Inseparable Verbs with objects คือ phrasal verb ที่ต้องอยู่ติดกัน ไม่สามารถแยกจากกันได้ แต่ต้องมีกรรม เช่น
   Look after เลี้ยงดู                              Look into สอบถาม ตรวจสอบ
   Run into ชน                                     Come across พบโดยบังเอิญ
   Take after เหมือนถอดแบบ                  Deal with ติดต่อ เกี่ยวข้อง
   Go off ออกไป จากไป หยุดทำงาน         Cope with จัดการ


3. Separable verbs คือ ที่แยกจากกันได้ มักจะต้องการกรรม
   Turn on เปิด(ไฟ)           Turn off ปิด (ไฟ)
   Turn down หรี่ (เสียง)     Swith off ปิด
   Look up มองหา             Take off ถอด ออกดินทาง


4. Three-Word Phrasal Verbs  คือ phrasal verb ที่ไม่มีกรรมและบางครั้งมีการใช้บุพบทมากกว่า 1 ตัว เช่น
   Get on with ทำต่อไป ไม่หยุด                Cut down on ลดปริมาณลง
   Look out for เตรียมพร้อม                      Catch up with ตามทัน
   Run out of หมด                                  Get down to เอาจริงเอาจัง
   Stand up for ปกป้อง เดือดร้อนแทน         Look down to ดูถูก
   Look up to ยอมรับนับถือ                        Put up with อดทน
   Look out on มองออกไป


ดูคำเพิ่มเติมที่ http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-1-31921.html

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Simple Present Tense


      

      โครงสร้างของ simple present tense ประกอบด้วย

ประธาน + กริยาช่องที่ 1 (base form)

      กริยาของประโยค simple present tense จะอยู่ในรูป base form แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือผันคำไปตามพจน์และบุรุษด้วยการเติม inflections (–s หรือ –es) เข้าท้าย base form ในกรณีที่ประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่สาม (he, she, it เป็นต้น)



วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การใช้ So am I, So do I, Neither am I, Neither do I, Nor do I และอื่นๆ
เรื่องนี้เป็นการแสดงการเห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย โดยการใช้ So, neither และ nor

การแสดงการเห็นด้วย รูปแบบ คือ

So + V ช่วย + ประธาน (แปลว่า ด้วยเหมือนกัน) เช่น
‘I am so hungry.’ ‘So am I.’   So am I แปลว่า ฉันก็หิวด้วยเหมือนกัน

การแสดงการไม่เห็นด้วย รูปแบบ คือ

Neither/ Nor + V ช่วย + ประธาน (แปลว่า ไม่ด้วยเหมือนกัน)
เช่น
‘I can’t swim.’ ‘Neither can I.’   Neither can I แปลว่า ฉันก็ว่ายน้ำไม่เป็นด้วยเหมือนกัน


Get/Have something done


      ในภาษาอังกฤษจะมีประโยคแบบพิเศษอยู่แบบหนึ่ง ซึ่งประธานของประโยคไม่ได้เป็นคนทำการกระทำนั้นด้วยตัวเอง แต่ให้บุคคลอื่นทำการกระทำต่างๆ ให้ตัวเอง เช่น หากเราจะไปตัดผม (โดยให้ช่างตัดผมตัดให้) เราจะไม่สามารถพูดว่า I will cut my hair. ได้ เพราะคนฟังจะเข้าใจผิดว่าเราจะทำการตัดผมของเราด้วยตัวเราเอง


      นี่เป็นที่มาของการนำประโยค causative form มาใช้ ซึ่งมีหลักให้ท่องง่ายๆ คือ have something done และ have someone do something




วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Passive Vioce


         

            Passive Voice หมายถึง ประโยคกรรมวาจก  สำหรับผู้ที่เรียนภาษาบาลีมาคงจะทำความเข้าใจในเรื่องนี้ได้ไม่อยากนัก เพราะมีโครงสร้าง ตลอดจนวิธีการใช้คล้ายกับตำราไวยากรณ์ที่เรียนกัน ส่วนผู้ที่ไม่เคยศึกษาภาษาบาลีมาก็ไม่เป็นไร ไม่ใช่เรื่องยากอะไรมากมายนัก เราก็สามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้เช่นเดียวกัน  ทีนี้ก็มาดูกันว่า แท้จริงแล้ว Passive Voice (ประโยคกรรมวาจก) คืออะไร ? นี้คงจะเป็นคำถามที่ทุกท่านอยากรู้  ประโยคกรรมวาจกก็คือ ประโยคหรือข้อความที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำกิริยานั้นโดยผู้อื่นหรือสิ่งอื่น กล่าวง่ายๆ ก็คือ ท่านยกสิ่งที่ถูกกระทำมาเป็นประธานของประโยคนั้นเอง  และจะแปลออกสำเนียงว่า ถูก

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Reflexive Pronouns

      Reflexive  Pronouns  เป็นสรรพนามที่สะท้อนกลับไปหาประธานของประโยค  เช่น  myself  =  ตนเอง,  himself  =  ตัวเขาเอง  เป็นต้น  เกิดขึ้นเนื่องจากการรวมกันระหว่าง  Possessive  Pronouns  และ  self / selves  มีดังนี้



1.  เพื่อแสดงถึงการกระทำต่อตนเอง (The action  of  the  verb  returns  to  the  does)
2.  เพื่อแสดงถึงการเน้น (emphasis) ว่าการกระทำนั้นๆ  เกิดจากตัวเขา, ฉันเธอ จริงๆ
3.  ใช้  Reflexive  Pronouns  หลังคำบุพบท  (prepositions)


วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การใช้ Wish


การใช้ wish เป็นการแสดงความปรารถนากับสิ่งที่ตรงข้ามกับความจริง


หลักการใช้ Wish
1.   ใช้แสดงความปรารถนาในอดีต (Earlier time) [Had + V3]
      เช่น I wish it had snowed yesterday. (ความจริง คือ หิมะไม่ได้ตกเมื่อวานนี้)
2.   ใช้แสดงความปรารถนาในปัจจุบัน (Same time) [V2, was/were + Ving]
      เช่น When she was at the party, she wished she were at home.
3.   ใช้แสดงความปรารถนาในอนาคต (Later time) [Would + V1]
      You wished she would arrive the next day.

wish-diagram