Sparkly Santa Hat Ice Cream
Welcome to my blog

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Simple Present Tense


      

      โครงสร้างของ simple present tense ประกอบด้วย

ประธาน + กริยาช่องที่ 1 (base form)

      กริยาของประโยค simple present tense จะอยู่ในรูป base form แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือผันคำไปตามพจน์และบุรุษด้วยการเติม inflections (–s หรือ –es) เข้าท้าย base form ในกรณีที่ประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่สาม (he, she, it เป็นต้น)



วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การใช้ So am I, So do I, Neither am I, Neither do I, Nor do I และอื่นๆ
เรื่องนี้เป็นการแสดงการเห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย โดยการใช้ So, neither และ nor

การแสดงการเห็นด้วย รูปแบบ คือ

So + V ช่วย + ประธาน (แปลว่า ด้วยเหมือนกัน) เช่น
‘I am so hungry.’ ‘So am I.’   So am I แปลว่า ฉันก็หิวด้วยเหมือนกัน

การแสดงการไม่เห็นด้วย รูปแบบ คือ

Neither/ Nor + V ช่วย + ประธาน (แปลว่า ไม่ด้วยเหมือนกัน)
เช่น
‘I can’t swim.’ ‘Neither can I.’   Neither can I แปลว่า ฉันก็ว่ายน้ำไม่เป็นด้วยเหมือนกัน


Get/Have something done


      ในภาษาอังกฤษจะมีประโยคแบบพิเศษอยู่แบบหนึ่ง ซึ่งประธานของประโยคไม่ได้เป็นคนทำการกระทำนั้นด้วยตัวเอง แต่ให้บุคคลอื่นทำการกระทำต่างๆ ให้ตัวเอง เช่น หากเราจะไปตัดผม (โดยให้ช่างตัดผมตัดให้) เราจะไม่สามารถพูดว่า I will cut my hair. ได้ เพราะคนฟังจะเข้าใจผิดว่าเราจะทำการตัดผมของเราด้วยตัวเราเอง


      นี่เป็นที่มาของการนำประโยค causative form มาใช้ ซึ่งมีหลักให้ท่องง่ายๆ คือ have something done และ have someone do something




วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Passive Vioce


         

            Passive Voice หมายถึง ประโยคกรรมวาจก  สำหรับผู้ที่เรียนภาษาบาลีมาคงจะทำความเข้าใจในเรื่องนี้ได้ไม่อยากนัก เพราะมีโครงสร้าง ตลอดจนวิธีการใช้คล้ายกับตำราไวยากรณ์ที่เรียนกัน ส่วนผู้ที่ไม่เคยศึกษาภาษาบาลีมาก็ไม่เป็นไร ไม่ใช่เรื่องยากอะไรมากมายนัก เราก็สามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้เช่นเดียวกัน  ทีนี้ก็มาดูกันว่า แท้จริงแล้ว Passive Voice (ประโยคกรรมวาจก) คืออะไร ? นี้คงจะเป็นคำถามที่ทุกท่านอยากรู้  ประโยคกรรมวาจกก็คือ ประโยคหรือข้อความที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำกิริยานั้นโดยผู้อื่นหรือสิ่งอื่น กล่าวง่ายๆ ก็คือ ท่านยกสิ่งที่ถูกกระทำมาเป็นประธานของประโยคนั้นเอง  และจะแปลออกสำเนียงว่า ถูก

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Reflexive Pronouns

      Reflexive  Pronouns  เป็นสรรพนามที่สะท้อนกลับไปหาประธานของประโยค  เช่น  myself  =  ตนเอง,  himself  =  ตัวเขาเอง  เป็นต้น  เกิดขึ้นเนื่องจากการรวมกันระหว่าง  Possessive  Pronouns  และ  self / selves  มีดังนี้



1.  เพื่อแสดงถึงการกระทำต่อตนเอง (The action  of  the  verb  returns  to  the  does)
2.  เพื่อแสดงถึงการเน้น (emphasis) ว่าการกระทำนั้นๆ  เกิดจากตัวเขา, ฉันเธอ จริงๆ
3.  ใช้  Reflexive  Pronouns  หลังคำบุพบท  (prepositions)


วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การใช้ Wish


การใช้ wish เป็นการแสดงความปรารถนากับสิ่งที่ตรงข้ามกับความจริง


หลักการใช้ Wish
1.   ใช้แสดงความปรารถนาในอดีต (Earlier time) [Had + V3]
      เช่น I wish it had snowed yesterday. (ความจริง คือ หิมะไม่ได้ตกเมื่อวานนี้)
2.   ใช้แสดงความปรารถนาในปัจจุบัน (Same time) [V2, was/were + Ving]
      เช่น When she was at the party, she wished she were at home.
3.   ใช้แสดงความปรารถนาในอนาคต (Later time) [Would + V1]
      You wished she would arrive the next day.

wish-diagram


วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Causative Verb


           

        Causative Verb หมายถึงกลุ่มของกริยาที่แปลว่า ทำให้ (คน) ตามด้วยความหมายของกริยานั้นๆ  เป็นกริยาที่สร้างความยุ่งยากในการใช้สำหรับคนไทยส่วนใหญ่เพราะมีการใช้ในรูป ing และ ed ในความหมายที่แตกต่างกัน  แต่ทำหน้าที่เป็น adjective เหมือนกัน

หลักการใช้

1.   Adj. Ed  ใช้กับประธานที่มีชีวิต โดยเฉพาะคน เพราะมีความหมายว่า รู้สึก
2.   Adj. Ing ใช้ได้ทั้งประธานที่เป็นคนและอื่นๆ
3.   Adj. Ed มักจะมีบุพบทตามหลัง ผู้เรียนควรจดจำเพราะเป็นบุพบทที่ใช้เฉพาะ adj. แต่ละตัว



วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Simple Present Tense


 
        

          Subject + Verb1

หลักการใช้ Present Simple Tense
1. ใช้พูดถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา หรือ เกิดขึ้นเป็นประจำซ้ำไปซ้ำมา
2. ใช้กับการกระทำที่ ทำจนเป็นอุปนิสัย 
3. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ เป็นความจริงตลอดไป (fact) หรือ เป็นกฎทางธรรมชาติ (natural law)
4. ใช้เมื่อต้องการพูดถึง ตารางเวลา (Schedule) หรือ แผนการ (Plan) ที่ได้วางไว้
5. ใช้ในการ แนะนำ บอกแนวทาง หรือ สอน




วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

If Cause (Conditional Sentences)


          คือ ประโยคที่มีข้อความแสดงเงื่อนไข (conditions) หรือการสมมุติ ซึ่งประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยครวมกัน และเชื่อมด้วย conjunction "if"  ประโยคที่นำหน้าด้วย if แสดงเงื่อนไข เราเรียกว่า if-clause และประโยคที่แสดงผลเงื่อนไขนั้น เราเรียกว่า main clause

มีรูปแบบดังนี้

If + Present Simple , Future Simple.......(type 1)
(if-clause) (main clause)
If + Past Simple , S + would + V1 ........(type 2)
(if-clause) (main clause)
If + Past Perfect , S+would/should + have +V3.........(type 3)
(If- clause) (main clause)